10 อันดับ ไมค์อัดเสียง ยี่ห้อไหนดี 2024
sE Electronics รุ่น X1 S Studio Bundle
- ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์
- รูปแบบการรับเสียงแบบ Cardioid ค่า Max SPL
- รองรับความดังได้สูงสุดถึง 160dB หมดกังวลเรื่องสัญญาณหาย
- การตอบสนองความถี่ 20 Hz ถึง 20 kHz
- ฟิลเตอร์ตัดเสียงต่ำ 80Hz, 160Hz ที่เลือกได้
- ลดเสียงดังก้องและการสะสมความถี่ต่ำ
- ความไวในการรับเสียง Pad switch 2 ระดับที่สลับได้ -10dB กับ -20dB
SHURE รุ่น MV7
- ไมค์รุ่นยอดนิยมสำหรับทำ Podcast และร้องเพลง
- รับเสียงได้แม่นยำ และป้องกันเสียงรบกวนได้ดี
- รูปแบบการรับเสียงคาร์ดิออยด์
- การตอบสนองความถี่ 50 Hz ถึง 16 kHz
- ความไวในการรับเสียง -55dB
- สามารถตั้งค่าผ่านแอพพลิเคชั่น ShurePlus Motiv ได้
- เชื่อมต่อผ่าน USB และ XLR
- สําหรับใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆที่เชื่อมต่อ USB ได้
- เหมาะกับการใช้งานในสตูดิโอ หรือห้องปิด
RODE รุ่น Wireless GO
- ไมโครโฟนเสียงชัดเจนและใส
- ขนาดกะทัดรัด พกพาง่าย
- ปรับแต่งเสียงเอาต์พุตได้อย่างง่ายดาย
- การตอบสนองความถี่ 50 Hz ถึง 20 kHz
- ความไวในการรับเสียง -21.8dB
- เชื่อมต่อผ่าน Wireless 2.4GHz
- สามารถอินพุตเสียงไปยังกล้องหรือผ่านอะแดปเตอร์ RODE ได้
Aston รุ่น Element Bundle
- รูปแบบการรับเสียงคาร์ดิออยด์
- ไมโครโฟนแบบแม่เหล็กไฟฟ้า
- การตอบสนองความถี่ 20 Hz – 20 kHz
- ความไวในการรับเสียง -38dB
- ตัวรับสัญญาณที่อยู่ในไมโครโฟน
- เชื่อมต่อผ่าน XLR เหมาะสำหรับใช้ในสตูดิโอ
RODE รุ่น NT-USB
- รูปแบบการรับเสียงคาร์ดิออยด์ เชื่อมต่อผ่าน USB
- การตอบสนองความถี่ 20Hz – 20 kHz
- มาพร้อมปุ่มปรับ Volume
- สามารถฟังเสียงขณะทำการบันทึกเสียง
- สำหรับการบันทึกเสียง ร้องเพลง เสียงพูด หรือเสียงดนตรี
Audio-Technica รุ่น ATR2500x-USB
- ไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์
- เสียงมีความชัดเจน เก็บรายละเอียดได้ดี
- การตอบสนองความถี่ 30 Hz – 15 kHz
- ความไวในการรับเสียง -30dB
- เชื่อมต่อผ่าน USB-C to USB-A
- สำหรับใช้งานกับคอมพิวเตอร์ และ Mac
- ใช้ในงาน podcasting, home studio recording และvoiceover
Maono รุ่น AU-903
- ไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ เชื่อมต่อผ่าน USB
- รูปแบบการรับเสียง Cardioid, Omnidirectional
- การตอบสนองความถี่ 20 Hz -18 kHz
- ความไวในการรับเสียง -38dB
- สามารถลดเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สำหรับใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค และโทรศัพท์มือถือ
FIFINE รุ่น K683B USB Microphone
- รูปแบบการรับเสียงคาร์ดิออยด์ เชื่อมต่อผ่าน USB
- มาพร้อม Pop Filter เพื่อตัดเสียงลมที่ออกจากปาก
- การตอบสนองความถี่ 40 Hz – 20 kHz
- ความไวในการรับเสียง -45dB
- เชื่อมต่อผ่าน USB Type-A และ Type-C
- สำหรับใช้งานร่วมกับโน๊ตบุ๊ค, คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ
- ใช้ได้ดีในงาน Podcasts และการพากย์เสียง
FANTECH รุ่น Leviosa MCX01
- รูปแบบการรับเสียงคาร์ดิออยด์ เชื่อมต่อผ่าน USB
- การตอบสนองความถี่ 20 Hz – 20 kHz
- ความไวในการรับเสียง -38dB ± 3dB
- มีช่องเสียบหูฟัง เพื่อฟังเสียงบันทึกได้
- มีไฟ RGB วิ่งวนบนหัวไมค์ เพื่อเพิ่มความเท่ห์
- สำหรับใช้งานร่วมกับ คอมพิวเตอร์ และ PS4
- เหมาะกับการใช้งานไลฟ์เกม, อัดเสียงร้อง, ทำคลิป Youtube หรือพากย์เสียง
BOYA รุ่น Lavalier BY-M1
- รูปแบบการรับเสียง Omnidirectional รับเสียงได้รอบทิศทาง
- มีน้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพา
- การตอบสนองความถี่ 65 Hz – 18 kHz
- ความไวในการรับเสียง -30dB
- เชื่อมต่อผ่านแจ็คแบบปลั๊กทอง 3.5 mm.
- โหมดบันทึกเสียงได้ 2 แบบ ระหว่างโหมดกล้องกับสมาร์ทโฟน
- สำหรับใช้งานร่วมกับกล้อง, โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์ และโน๊ตบุ๊ค
ไมค์อัดเสียง ยี่ห้อดัง ยอดนิยม
ไมค์อัดเสียง ยอดนิยม ขายดี - ประจำเดือน
ประเภทของไมค์อัดเสียง
ไมค์อัดเสียง เหมาะสำหรับใช้ในการบันทึกเสียงพูด เสียงร้อง หรือถ่ายทำรายการต่างๆ เพื่อความบันเทิง ในบทความนี้ขอแนะนำ 2 ประเภทไมค์อัดเสียง ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ Dynamic Microphone และ Condenser Microphone ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
- Dynamic Microphone (ไมค์ไดนามิค)
เป็นไมค์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เหมาะสำหรับการใช้ในงานกลางแจ้ง สามารถลดเสียงรบกวนได้ดี จึงนิยมใช้ในงานแสดงสด อย่างเช่น งานคอนเสิร์ต งานแสดงต่างๆ หรืองานนอกสตูดิโอ ข้อดีคือสามารถรับแรงกระแทกของเสียงได้ดี เป็นไมค์ที่มีความทนทานพอสมควร และทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ไฟเลี้ยง ใช้รับเสียงของเครื่องดนตรีที่มีแรงกระแทกเสียงหนักๆ ได้ดี เช่นกลองหรือกีตาร์เบส และทำงานร่วมกับเครื่องขยายเสียง เพื่อให้ได้คุณภาพเสียงที่สมบูรณ์มากขึ้น
- Condenser Microphone (ไมค์คอนเดนเซอร์)
เป็นไมค์ที่นิยมใช้กันในห้องหรือสตูดิโอ เพราะจะต้องมีกระแสไฟเลี้ยงในการใช้งาน เหมาะสำหรับการเก็บเสียงรอบด้าน และSound Effect ต่างๆ อย่างการบันทึกเสียงที่ใช้เครื่องดนตรี เสียงพูด และที่ใช้กันมากในปัจจุบันคือการใช้เพื่อบันทึกเสียงแบบ ASMR ทั้งเสียงขยับ เสียงการเคี้ยว การกลืน หรือแม้กระทั่งเสียงของลมหายใจเบาๆ ไมค์คอนเดนเซอร์จะสามารถรับเสียงได้อย่างชัดเจน นิยมใช้ในงานสัมภาษณ์, การบันทึกเสียงร้อง หรือการ cover เพลง จึงเหมาะที่จะใช้ในห้องสตูดิโอ เพื่อกันเสียงรบกวนต่างๆ แทรกเข้ามาได้
รูปแบบการรับเสียง
เมื่อทราบถึงประเภทของไมค์อัดเสียงที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันแล้ว ก็มาดูในเรื่องของรูปแบบการรับเสียง (Polar Patterns) ซึ่งมีความสำคัญต่อการเลือกซื้อมากๆ โดยมีรูปแบบดังนี้
- Cardioid (คาร์ดิออยด์) : รับเสียงเฉพาะด้านหน้า
คาร์ดิออยด์ จะรับเสียงจากทางด้านหน้าของไมค์ได้ดีที่สุด ไล่มาด้านข้างเสียงก็จะลดลงไปเล็กน้อยแต่ยังสามารถรับเสียงได้ดีอยู่ จึงนิยมใช้ในงานที่ไม่ต้องการให้มีเสียงบรรยากาศเข้ามามากๆ มักใช้ในสตูดิโอและงานแสดงสด เหมาะสำหรับการถ่ายทำวิดีโอ ไลฟ์สด เพราะจะช่วยลดเสียงที่เข้ามารบกวนจากทิศทางอื่นๆ ได้ดี
- Supercardioid (ซูเปอร์ คาร์ดิออยด์) : รับเสียงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่รับเสียงด้านหน้าได้มากกว่า
ซูเปอร์ คาร์ดิออยด์ จะรับเสียงจากทางด้านหน้าของไมค์ได้ดีที่สุด แต่แคบกว่าคาร์ดิออยด์ คือรับเสียงจากด้านข้างได้น้อย แต่สามารถรับเสียงจากด้านหลังได้ ซึ่งการใช้งานอาจจะต้องระวังเสียงรบกวนจากด้านหลังด้วย จึงนิยมใช้ในสถานการณ์ที่ต้องการแยกการบันทึกที่เน้นเจาะจงแหล่งกำเนิดเสียงใดเสียงหนึ่ง เพราะให้ทิศทางการรับเสียงที่แคบกว่า ดังนั้นเวลาใช้งานในห้องสตูดิโอ ก็อาจจะเกิดเสียงสะท้อนหรือเสียงที่ก้องจากทางด้านหลังได้มากกว่าคาร์ดิออยด์
- Hypercardioid (ไฮเปอร์ คาร์ดิออยด์) : รับเสียงทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แต่รับเสียงด้านหน้าได้มากกว่า
ไฮเปอร์ คาร์ดิออยด์ มีลักษณะการรับเสียงคล้ายกับซูเปอร์คาร์ดิออยด์ แต่มีความแตกต่างกันคือ ไฮเปอร์คาร์ดิออยด์จะรับเสียงทางด้านหน้าได้แคบกว่า ซึ่งทำให้เสียงด้านข้างเข้าน้อยลงไปอีก แต่การรับเสียงจากด้านหลังไมค์กลับมากกว่าซูเปอร์คาร์ดิออยด์ ซึ่งการใช้งานของทั้ง 2 แบบนี้ หากใช้บันทึกเสียงในห้องหรือสตูดิโอ ต้องระมัดระวัง เพราะอาจจะมีเสียงก้องที่สะท้อนมาจากทางด้านหลังได้
- Bi-directional (ไบไดเรคชั่นแนล) : รับเสียงทั้งด้านหน้าและด้านหลังได้เกือบเท่ากัน
ไบไดเรคชั่นแนล เป็นไมค์ที่เน้นการรับเสียงทางด้านหน้าและด้านหลังได้ดี โดยจะรับเสียงจากด้านข้างได้น้อยมากหรือไม่ได้เลย นิยมใช้กันมากในห้องดนตรี หรือห้องอัดเสียง และเหมาะสำหรับใช้ในการสัมภาษณ์ที่ต้องวางไมค์บันทึกเสียงไว้ระหว่างผู้ดำเนินรายการกับผู้ถูกสัมภาษณ์
- Omni Directional (ออมนิไดเรคชั่นแนล) : รับเสียงได้รอบทิศทาง
ออมนิ ไดเรคชั่นแนล เป็นไมค์ที่มีรูปแบบการรับเสียงได้รอบทิศทาง ทั้งเสียงพูด เสียงร้อง เสียงบรรยากาศโดยรอบอย่างเป็นธรรมชาติ จึงเหมาะสำหรับการบันทึกเสียงทั่วไป เพราะมีการตอบสนองความถี่ได้กว้าง แต่ไม่ควรพูดห่างจากไมโครโฟนมากนัก เพราะมีโอกาสที่จะเกิดเสียงรบกวน หรืออาจเกิดเสียงหอนได้ง่าย
วิธีการเลือกซื้อไมค์อัดเสียง
จากที่ได้ทราบถึงประเภทและรูปแบบการรับเสียงของไมค์แล้ว ก็มาดูวิธีการเลือกซื้อไมค์อัดเสียง เพื่อให้เหมาะต่อการใช้งานของคุณมากที่สุด
- เลือกไมค์อัดเสียงให้ตรงกับการใช้งาน
เป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่จะต้องพิจารณาถึง ถ้าคุณต้องการไมค์อัดเสียงเพื่อใช้กับงานของคุณ ก็ต้องดูที่คุณสมบัติของไมค์แต่ละรุ่น เพราะไมค์อัดเสียงแต่ละรุ่นจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งไมค์อัดเสียงบางรุ่นจะใช้สำหรับงานกลางแจ้งหรืองานที่เน้นใช้กับเสียงหนักๆ และบางรุ่นจะใช้ในห้องหรือสตูดิโอ เพื่อใช้สำหรับอัดเสียง อย่างเช่น การ cover เพลง เป็นต้น ดังนั้นควรดูคุณสมบัติในการใช้งานของแต่ละรุ่นให้ดี เลือกให้ถูกกับงานที่จะเอาไปใช้เพื่อให้ได้เสียงคมชัดและได้ไมค์อัดเสียงที่มีคุณภาพมากที่สุด
- เลือกไมค์อัดเสียงจากประเภทของไมค์
ไมค์อัดเสียงในปัจจุบันที่นิยมใช้กันมากๆ จะมีอยู่ 2 ประเภทคือ Dynamic กับ Condenser ซึ่งการใช้งานจะแตกต่างกันที่ ไมค์ Dynamic จะเหมาะสำหรับใช้ในงานกลางแจ้ง อย่างเช่น งานคอนเสิร์ต งานแสดงต่างๆ หรืองานนอกสตูดิโอ แต่ไมค์ Condenser จะใช้ในห้องหรือสตูดิโอ เพื่อกันเสียงรบกวนต่างๆ แทรกเข้ามาได้ เหมาะสำหรับการบันทึกเสียงแบบ ASMR หรือแม้กระทั่งเสียงของลมหายใจเบาๆ หากคุณต้องการไมค์ดีๆ ใช้ในการอัดเสียงก็ควรคำนึงถึงเรื่องนี้กันด้วย เพราะจำเป็นที่จะต้องเลือกประเภทของไมค์ให้ตรงกับการใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เสียงคมชัดและน่าฟัง
- เลือกไมค์อัดเสียงจากรูปแบบในการรับเสียง
ไมค์อัดเสียงแต่ละรุ่นจะมีการรับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งจะมีไมค์อัดเสียงที่รับเสียงเฉพาะด้านหน้า หรือไมค์อัดเสียงที่สามารถรับเสียงได้ทั้งด้านหน้า, ด้านหลัง และบางรุ่นรับเสียงได้รอบทิศทาง โดยรูปแบบของการรับเสียงจะมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งานด้วย จึงควรเลือกรูปแบบในการรับเสียงของไมค์อัดเสียงให้ดี เพราะมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของเสียงที่จะได้ออกมา
- เลือกจากการตอบสนองต่อความถี่
การตอบสนองต่อความถี่ของไมค์อัดเสียงควรอยู่ในช่วงความถี่ระหว่าง 20Hz – 20,000Hz (20Hz – 20kHz) จะเป็นช่วงความถี่ที่ดีที่สุด เพราะหูของคนเราสามารถรับความถี่ได้ในช่วง 20Hz ถึง 20,000Hz นั่นเอง จะช่วยให้ผู้ที่รับฟังสามารถได้ยินเสียงที่มีคุณภาพที่สุดและเสียงยังมีความคมชัดมากขึ้นอีกด้วย
- เลือกไมค์อัดเสียงจากการเชื่อมต่อ
ส่วนใหญ่แล้วไมค์อัดเสียงจะมีการเชื่อมต่อโดยผ่าน USB, JACK 3.5mm และ Wireless 2.4GHz ซึ่งการเลือกไมค์จากการเชื่อมต่อขึ้นอยู่กับความสะดวกของการนำไปใช้ในงาน ดังนั้นการเชื่อมต่อแบบไหนที่เหมาะและสะดวกกับการใช้งานของคุณมากที่สุดก็เลือกแบบนั้น จะได้ตรงกับการใช้งานและเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้กับงานนั้นๆ ด้วย
คำถามที่พบบ่อย
ตรวจสอบการเชื่อมต่อให้แน่ใจว่าไมค์ถูกเชื่อมต่ออย่างถูกต้องกับอุปกรณ์เสียงที่ใช้งาน ปรับระดับความดังของระบบเสียงหรือใช้ตัวกรองเสียงเพื่อลดเสียงรบกวนที่ไม่ต้องการ ตรวจสอบการตั้งค่าของไมค์และอุปกรณ์เสียงเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการตั้งค่าที่ไม่ถูกต้องที่อาจทำให้เกิดเสียงรบกวน
ตรวจสอบการเชื่อมต่อให้แน่ใจว่าไมค์ถูกเชื่อมต่ออย่างถูกต้องและติดแน่นกับอุปกรณ์เสียงที่ใช้งาน หากไมค์ใช้แบตเตอรี่ ลองเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากแบตเตอรี่ของไมค์ที่เสื่อมสภาพ ตรวจสอบการตั้งค่าของไมค์และอุปกรณ์เสียงเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการตั้งค่าที่ไม่ถูกต้องที่อาจทำให้ไมค์ไม่ทำงาน
ลดระดับเสียงรบกวน ปรับระดับความดังของระบบเสียงหรือใช้ตัวกรองเสียงเพื่อลดเสียงรบกวนที่ไม่ต้องการ หากมีการใช้ไมค์ใกล้กับลำโพงหรืออุปกรณ์เสียงอื่นๆ ลองปรับระยะห่างเพื่อลดการสะท้อนหรือเสียงห้อยที่อาจเกิดขึ้น
ปรับระดับแกนกลางของระบบเสียง (EQ) เพื่อเพิ่มความคมชัดให้กับเสียงไมค์ ตรวจสอบการตั้งค่าการบีบอัดของอุปกรณ์เสียงที่ใช้งาน เพราะบางครั้งการตั้งค่าไม่ถูกต้องอาจทำให้เสียงไมค์ไม่มีความคมชัดเพียงพอ
ตรวจสอบสายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อไมค์ว่ามีการตัดต่อหรือไม่ถูกต้อง ลองเปลี่ยนสายสัญญาณใหม่หากมีการชำรุดหรือพัง ตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างไมค์และอุปกรณ์เสียงเพื่อให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อถูกต้องและไม่มีสายสัญญาณที่บิดเบี้ยวหรือชำรุด