พอกันทีกับปัญหาของ พาวเวอร์แบงค์ (Power Bank) ที่ไม่มีคุณภาพ บางคนซื้อมายังไม่ทันได้ใช้ก็ชาร์จไฟไม่เข้า ยิ่งเห็นตามข่าวและสื่อต่างๆ ว่าพอใช้ไปเรื่อยๆ ก็เกิดระเบิด บางอันก็ติดไฟขึ้นมาเอง นั่นเพราะคุณกำลังเจอพาวเวอร์แบงค์ที่ไม่มีคุณภาพ หรืออาจจะเป็นของปลอมทำหลอกเลียนแบบ แต่วันนี้ไม่ต้องกลัวอีกแล้ว เราขอแนะนำ Power Bank แบตเตอรี่สำรอง คุณภาพดี ของแท้ของจริงแน่นอน ราคาหลักร้อย ใช้งานปลอดภัย พร้อมคำแนะนำในการเลือกซื้อและวิธีเช็คว่า Power Bank ของคุณเป็นของแท้หรืองานก๊อปเกรดเอกันแน่ ไปดูกันเลย 10 Power Bank ยอดนิยม | เรียบเรียงข้อมูลโดย pro4289.com

10 อันดับ Power Bank ยี่ห้อไหนดี 2024

1

Eloop E14 Pro แบตสำรอง 20000mAh ชาร์จเร็ว PD 20W USB Type C - Fast Charge

2

AUKEY PB-N73 พาวเวอร์แบงชาร์จเร็ว Ultra Slim 10,000 mAh ด้วยเทคโนโลยี AiPower และ USB-C

3

Eloop E29 แบตสำรอง 30000mAh QC3.0 PD 20W ชาร์จเร็ว Power Bank Fast Quick Charge

4

Anker 523 PowerBank 10000 mAh (PowerCore 20W & 22.5W) ชาร์จเร็ว

5

Yoobao PD26 Powerbank 20000mAh Quick Charge

6

Eloop EW55 MagCharge Magnetic 20000mAh

7

Remax Power Bank ความจุ 15,000 mAh (W1501) - แบตสำรอง ชาร์จไว มีสายชาร์จและปลั๊กในตัว

8

AUKEY PB-WL03S พาวเวอร์แบงชาร์จเร็ว 20000mAh ชาร์จไร้สาย Wireless Power Bank 22.5W PD SCP QC3.0 With Foldable Stand

9

ACMIC W1501 Powerbank 15000mAh พาวเวอร์แบงค์ชาร์จเร็ว Fast Charge PD20W มีสายในตัว หน้าจอ LED

10

iWALK LinkPod Pro5000PL แบตสำรองไร้สายแบบ FastCharge

Power Bank 30,000 mAh

Power Bank 20,000 mAh

Power Bank 10,000 mAh

Power Bank ยอดนิยม ขายดี - ประจำเดือน

คำถามที่พบบ่อย

  • ความจุไฟฟ้า น้อยกว่า 20,000 mAh (หรือน้อยกว่า 100 Wh) สามารถพกขึ้นเครื่องได้
  • ความจุไฟฟ้า ระหว่าง 20,000 – 32,000 mAh (หรือระหว่าง 100-160 Wh) สามารถพกขึ้นเครื่องได้เพียง 2 ก้อนเท่านั้น
  • ความจุไฟฟ้า มากกว่า 32,000 mAh (หรือมากกว่า 160 Wh) ไม่อนุญาตให้นำขึ้นเครื่องไปด้วย
  • ห้ามนำ Power Bank ใส่กระเป๋าเดินทางโหลดใต้เครื่อง แต่ใส่กระเป๋าถือขึ้นเครื่องได้
  • Power Bank ที่ใส่กระเป๋าถือขึ้นเครื่องต้องมีขนาดความจุไฟฟ้าไม่เกิน 32,000 mAh

และสำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมที่ไม่ระบุความจุกระแสไฟฟ้า วัตต์-ชั่วโมง (Watt-Hour : WH) หรือขนาดบรรจุของลิเธียม (Lithium Content :LC) หรือระบุไม่ชัดเจน ห้ามมิให้พาไปกับท่าอากาศยาน ไม่ว่าจะใส่ในกระเป่าสัมภาระติดตัวหรือสัมภาระลงทะเบียนก็ตาม

ไฟอาจจะน้อยเกินไป ลองเปลี่ยนอันใหม่ครับ 

Power Bank มีอายุการใช้งาน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ ประเภทของแบตเตอรี่ จำนวน Cycle วิธีชาร์จ การเก็บรักษา ยี่ห้อ คุณภาพการผลิต โดยปกติแล้ว พาวเวอร์แบงค์มีอายุการใช้งานเฉลี่ยไม่เกิน 2 ปี

 Power Bank ปัจจุบันนิยมใช้แบตเตอรี่

  1. ลิเธียม ไอออน (Lithium Lion) 
  2. ลิเธียม โพลิเมอร์ (Lithium Ion Polymer)

*Polymer เก็บกระแสไฟในแบตเตอรี่ได้นานกว่า

ประเภทแบตเตอรี่ของ Power Bank

แบตเตอรี่ของ power bank ที่นิยมนำมาผลิตกัน จะมีอยู่ 2 ประเภทคือ ลิเธียมไอออน (Lithium-ion) และ ลิเธียม โพลิเมอร์ (Lithium-Polymer) ซึ่งแบตเตอรี่ทั้ง 2 ชนิดมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้

  • แบตเตอรี่ชนิด ลิเธียม ไอออน (Lithium-Ion) หรือเรียกย่อๆ ว่า Li-Ion

แบตเตอรี่ลิเธียม ไอออน (Lithium-ion) จะมีพลังงานความจุแบตสูงและมีราคาถูก เมื่อใช้งานครั้งแรกไม่จำเป็นต้องผ่านการกระตุ้นไฟก่อน แต่แบตเตอรี่ชนิดนี้จะมีอัตราการปล่อยพลังงานต่ำและไม่สามารถผลิตออกมาในรูปแบบอื่นๆ ได้ นอกจากแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยการทำให้แบตมีน้ำหนักที่เบาลง พกพาง่าย และสามารถชาร์จไฟเพื่อเติมพลังงานกลับลงไปใน power bank ได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่ต้องรอให้พลังงานของแบตลิเธียมไอออนลดต่ำลง

แบตเตอรี่ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการ power bank ที่มีความจุของแบตเตอรี่สูง แต่มีราคาถูก มีข้อเสียคือแบตจะมีการเสื่อมสภาพของเซลล์แบตตลอดเวลาแม้จะไม่ได้ใช้งานก็ตาม

  • แบตเตอรี่ชนิด ลิเธียม โพลิเมอร์ (Lithium-Polymer) หรือเรียกย่อๆ ว่า Li-polymer

แบตเตอรี่ลิเธียม โพลิเมอร์ (Lithium-Polymer) เป็นแบตที่มีลักษณะคล้ายๆ การ์ด มีความบาง สามารถผลิตออกมาได้หลากหลายรูปทรง ทำให้ดีไซน์ power bank ได้อย่างหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ด้วยความที่เป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ ทำให้แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมโพลิเมอร์ สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน แบตมีความอึด มีความปลอดภัยสูงและยังมีน้ำหนักที่เบา แต่ข้อเสียของแบตลิเธียม-โพลิเมอร์คือ มีราคาค่อนข้างสูงกว่าแบตลิเธียมไอออนนั่นเอง

ขนาดความจุของแบตเตอรี่

ก่อนอื่นคุณต้องดูที่โทรศัพท์มือถือและหูฟังบลูทูธของคุณก่อน ว่ามีความจุของแบตเตอรี่ประมาณเท่าไหร่ โดยสังเกตได้ง่ายๆ จากตัวเลขที่มีหน่วยเป็น mAh (มิลลิแอมป์) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากสเปคของเครื่อง เมื่อทราบแน่ชัดแล้วจึงค่อยเลือกซื้อแบตสำรองที่มีความจุเท่าๆ กันหรือมากกว่าก็ได้

ความจุของ Power Bank โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 3,000 – 10,000+ mAh ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวบ่งบอกพลังงานที่บรรจุอยู่ในแบตเตอรี่สำรอง เช่นถ้าใครที่ออกไปข้างนอกไม่ค่อยบ่อย แต่อยากเอาไว้ใช้เพื่อกันแบตมือถือหมดในระหว่างวัน อาจเลือกใช้พาวเวอร์แบงค์ขนาดความจุแค่ 3,000 – 5,000 mAh เพราะยิ่งความจุน้อยขนาดของ Power Bank ก็จะยิ่งเล็กลง ทำให้พกพาได้อย่างสะดวกสบาย แต่สำหรับใครที่ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ หรือเป็นสายท่องเที่ยว ก็เลือกใช้แบตเตอรี่สำรองที่มีขนาดความจุตั้งแต่ 10,000+ mAh ขึ้นไปเลยก็ได้ เพราะต้องใช้เยอะและอาจต้องใช้เพื่อชาร์จกับหลายๆ อุปกรณ์ด้วย

สำหรับกรณีที่ต้องพก Power Bank ขึ้นเครื่องบิน ควรมีขนาดความจุอยู่ที่เท่าไหร่ถึงจะสามารถนำขึ้นเครื่องบินได้

  • Power Bank ที่มีขนาดความจุไฟฟ้าที่ต่ำกว่า 20,000 mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้ ไม่จำกัดจำนวนก้อน
  • Power Bank ที่มีขนาดความจุไฟฟ้าระหว่าง 20,000 – 32,000 mAh สามารถนำขึ้นเครื่องได้ แต่ต้องไม่เกิน 2 ก้อน
  • และ Power Bank ที่มีขนาดความจุไฟฟ้ามากกว่า 32,000 mAh ขึ้นไป จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องในทุกกรณี

วิธีเลือกซื้อ Power Bank

  • เลือก  Power Bank จากความจุแบตเตอรี่ให้เหมาะกับการใช้งาน

ก่อนซื้อพาวเวอร์แบงค์มาใช้ ควรตรวจสอบอุปกรณ์หรือโทรศัพท์มือถือก่อนว่ามีความจุแบตกี่ mAh เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการเลือกแบตเตอรี่สำรองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งควรเลือกตามขนาดที่มีความจุมากกว่า 3 เท่าของแบตเตอรี่ในตัวเครื่อง โดยปกติแล้วสมาร์ทโฟนจะมีความจุแบตอยู่ที่ประมาณ 2,000 – 3,000 mAh เพื่อให้สามารถชาร์จได้ 1 – 2 รอบขึ้นไป คุณควรเลือกใช้ power bank ที่มีความจุ 6,000 – 10,000 mAh และสำหรับใครที่ต้องใช้เพื่อชาร์จกับอุปกรณ์มากกว่า 1 เครื่อง แนะนำว่าควรใช้ขนาดความจุ 10,000 mAh ขึ้นไป เพื่อให้เพียงพอกับอุปกรณ์ของคุณด้วย

  • เลือก Power Bank จากขนาดและน้ำหนัก

ขนาดและน้ำหนักของพาวเวอร์แบงค์จะขึ้นอยู่กับความสะดวกในการพกพาและการใช้งาน หากคุณต้องทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ หรือเป็นสายเที่ยวที่ต้องเดินทางบ่อยๆ อาจต้องเลือก power bank ที่มาความจุ 20,000 mAh ขึ้นไป เพื่อให้ใช้ชาร์จได้หลายรอบหรือเพื่อให้สามารถชาร์จได้กับหลายๆ อุปกรณ์ ในกรณีที่ต้องใช้ชาร์จกับอุปกรณ์มากกว่า 1 เครื่อง แต่ตัว power bank อาจจะมีน้ำหนักมากและมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย และสำหรับคนที่ไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอก แต่อยากจะซื้อ powerbank มาใช้เพื่อสำรองกันแบตมือถือหมด ก็เลือกขนาดความจุ 3,000 – 10,000 mAh ก็ได้ เพราะแบตสำรองความจุขนาดประมาณนี้ จะมีนํ้าหนักเบา มีขนาดกะทัดรัด ทำให้พกพาได้ง่าย

  • เลือก Power Bank จากการจ่ายไฟและเทคโนโลยีการชาร์จเร็ว

ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่ให้แบตเต็มได้เร็วยิ่งขึ้น โดยใช้ระยะเวลาในการชาร์จที่น้อยลง เป็นเทคโนโลยีแบบ Power Delivery PD ที่มักจะเจอในระบบ iOS จาก Apple และเทคโนโลยีชาร์จเร็วแบบ Quick Charge 3.0 หรือ Fast Charge ที่พบได้ทั้งระบบ iOS และ Android ซึ่งคุณต้องรู้ก่อนว่าสมาร์ทโฟนและพาวเวอร์แบงค์ของคุณที่จะนำมาใช้งานนั้น สามารถใช้งานร่วมกันได้หรือไม่

วิธีเช็ค Power Bank ว่าเป็นของแท้หรือของปลอม

Power Bank มีวิธีตรวจสอบแบบง่ายๆ โดยคุณสามารถพิมพ์ยี่ห้อและรุ่นของ Power Bank ที่ต้องการซื้อบนเว็บไซต์ Google แล้วตามด้วยคำว่า รีวิว ก็จะมีข้อมูลต่างๆ ขึ้นมาให้คุณดูมากมาย และหากคุณหาซื้อแบบออนไลน์ก็สามารถเช็คราคาจากร้านค้า โดยอย่าลืมดูความน่าเชื่อถือของร้านค้า รวมถึงการรับประกันสินค้าด้วย ถ้าร้านที่เป็นของแท้แน่นอน จะสอนวิธีเช็คหรือแนบข้อมูลในการเช็ค Power Bank ว่าเป็นของแท้ 100% ให้ไปด้วย ซึ่งวิธีการเช็คจะมีขั้นตอนยังไงก็ขึ้นอยู่กับแบรนด์ของ power bank นั่นเอง

และการตรวจสอบอีกวิธีหนึ่งคือให้คุณดูจากขนาดและน้ำหนักตามความเหมาะสมกับจำนวน mAh ที่ระบุไว้ ถ้า mAh เยอะแต่พาวเวอร์แบงค์น้ำหนักเบาเกินไป จนรู้สึกไม่มั่นใจ ก็อาจเป็นไปได้ว่า Power Bank ที่กล่าวมามีความจุไม่ถึงตามที่ระบุอย่างแน่นอน

วิธีดูแลรักษา Power Bank

  1. ควรกระตุ้นไฟก่อนเริ่มใช้งานครั้งแรก โดยการเสียบชาร์จ Power Bank จากโน๊ตบุ๊คก่อน เพราะจะทำให้ได้รับกระแสไฟในปริมาณต่ำ เนื่องจากช่วงแรกของการใช้งานแบตเตอรี่สำรองจะยังรับกระแสไฟแบบแรงๆ ไม่ได้ จึงต้องทำการชาร์จไฟต่ำก่อน
  2. ไม่ควรชาร์จแบตไปเล่นไป เพราะจะทำให้แบตของ Power Bank เสื่อมอายุเร็วขึ้น ฉะนั้นชาร์จโทรศัพท์ให้เต็มก่อน แล้วถอดสายชาร์จออกเพื่อใช้งานตามปกติจะดีกว่า
  3. ไม่ควรปล่อยให้พลังงานของพาวเวอร์แบงค์ลดต่ำจนเกินไป เพราะถ้าปล่อยให้เหลือพลังงานน้อยหรือใช้งานจนแบต Power Bank หมดเกลี้ยง เวลาชาร์จไฟก็จะยิ่งใช้พลังงานมากขึ้นไปอีก ทำให้เซลล์แบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าที่ควรจำเป็น
  4. ไม่ควรนำ power bank วางไว้ใกล้ความร้อนหรือเปลวไฟ เพราะความร้อนจะทำให้แบตเสื่อมเร็ว จึงควรเก็บ power bank ไว้ในที่ๆ มีความเย็นหรืออุณหภูมิต่ำ จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตได้มากกว่าเดิม
  5. ไม่ควรทำตก ทำหล่น หรือโดนน้ำ เพราะ power bank เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า จึงไม่ถูกกับน้ำ ความชื้น รวมถึงของเหลวอื่นๆ เพื่อป้องกันและรักษาสภาพแผงวงจรภายในไม่ให้เกิดความเสียหายได้